การหาตำแหน่งดาวด้วยมือของเราเอง
การดูดาวในยามค่ำคืน พื้นฐานเรื่อง "ทิศกับมุมต่าง ๆ" ยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทุกคนควรศึกษาให้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้การดูดาวและการหาตำแหน่งดาวต่าง ๆ นั้นง่ายขึ้น
เนื้อหา
การหาตำแหน่งดาวบนท้องฟ้า เราต้องใช้ มุมทิศ (Azimute) และมุมเงย (Altitude) ประกอบกัน (ดูภาพด้านล่าง) เช่น ตำแหน่งดาวดวงนี้ อยู่ที่มุมทิศ 300° มุมเงย 60° เป็นต้น มุมเงยจะมีค่าตั้งแต่ 0°-90° เท่านั้น จุดที่อยู่เหนือหัวของเรา เรียกว่าจุดจอมฟ้า (Zenith)
เมื่อเราได้ทิศเหนือแล้ว ก็จะรู้ทิศต่าง ๆ ตามมา ทำให้รู้แนวการโคจร การขึ้นและการตกของดวงดาว ช่วยทำให้การดูดาวง่ายขึ้น
การหาตำแหน่งดาวด้วยมือ
*********************************
โดย
พลตรี ดร.สุชาต จันทรวงศ์
ชมรมดาราศาสตร์และมวลเมฆ จ.ราชบุรี
7 ธ.ค.2566
ที่มาข้อมูล
ที่มาของภาพ ปรับปรุงจาก (Christopher Witt .2562) |
- มุมทิศ (Azimuth)
- มุมทิศและมุมเงย
- การหามุมทิศและมุมเงยของดาว
- การหาทิศเหนือในพื้นที่ดูดาว
- การหาตำแหน่งดาวด้วยมือ
- การคำนวณตำแหน่งดาว ด้วยสูตร 15°
- สรุปท้ายเรือง
มุมทิศ (Azimuth)
เริ่มจากภาพด้านบน ขอให้ทำความเข้าใจมุมทิศ (Azimuth) บนพื้นดินที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราเสียก่อน มุมทิศรอบตัวเรามีทั้งหมด 360° หมุ่นตามเข็มนาฬิกา เริ่มต้นจาก
- ทิศเหนือ (N) = 0°/360°
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (NE) = 45°
- ทิศตะวันออก (E) = 90°
- ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (SE) = 135°
- ทิศใต้ (S) = 180°
- ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (SW) = 225°
- ทิศตะวันตก (W) = 270°
- ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (NW) = 315°
การหาตำแหน่งดาวบนท้องฟ้า เราต้องใช้ มุมทิศ (Azimute) และมุมเงย (Altitude) ประกอบกัน (ดูภาพด้านล่าง) เช่น ตำแหน่งดาวดวงนี้ อยู่ที่มุมทิศ 300° มุมเงย 60° เป็นต้น มุมเงยจะมีค่าตั้งแต่ 0°-90° เท่านั้น จุดที่อยู่เหนือหัวของเรา เรียกว่าจุดจอมฟ้า (Zenith)
การหามุมทิศและมุมเงยของดาว
การหามุมทิศและมุมเงย ของดาวที่เราต้องการดู ในสมัยก่อน (ก่อนที่จะมีแอปพลิเคชั่นดูดาว) เราจะหาจาก "แผนที่ดาว" (ตามภาพด้านล่าง) เมื่อเราหมุน วันที่และเดือน ตรงกับเวลาที่เราจะดู แล้วเราก็เลือกดาวที่เราจะดู เช่น หากเราดูดาวในวันที่ 9 ธ.ค.2566 เวลา 20:00 น. ตำแหน่งกลุ่มดาวนายพราน จะอยู่ที่มุมทิศ 90° และมุมเงย 30°แผนที่ดาว สำหรับประเทศไทย ละติจูด 10-15-20 องศาเหนือ
แต่ในสมัยปัจจุบัน แผนที่ดาว ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เพราะมีแอปพลิเคชันดูดาวที่สามารถติดตั้งได้ในโทรศัพท์มือถือมาแทนที่ สะดวกและสามารถบอกมุมทิศและมุมเงยของดาวแต่ละดวงได้อย่างละเอียดเป็นเวลาจริง และสามารถส่องนำทางไปยังดาวดวงนั้น ๆ ได้ ในท้องฟ้าจริงที่ชมอยู่ในขณะนั้น
แอปพลิเคชั่นดูดาว มาแทนที่แผนที่ดาว ที่มาของภาพ (Trevor.2566) |
การหาทิศเหนือในพื้นที่ดูดาว
เมื่อเราเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ดูดาว สิ่งแแรกที่ควรทำคือ การหาทิศเหนือ วิธีการหาทิศเหนือมีหลายวิธี เช่น
- หาด้วยเข็มทิศจริง ๆ หรือเข็มทิศที่ติดอยู่กับขาตั้งกล้อง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
- หาด้วยแอปพลิเคชันเข็มทิศในโทรศัพท์มือถือ
- หาด้วยแอปพลิเคชั่นดูดาว
- หากไม่มีอุปกรณ์ที่กล่าวมา สามารถหาด้วยตำแหน่งของดาวเหนือ หรือดาวยอดนิยมต่าง ๆ ที่คุ้นเคยก็ได้
การหาดาวเหนือ ในบางพื้นที่อาจจะหาลำบาก เพราะดาวเหนือไม่สว่างมากนัก และในประเทศไทยจะขึ้นสูงจากขอบฟ้าประมาณ 10°-15° หากท้องฟ้าไม่มืดหรือมีภูเขาสูงบดบังก็ไม่สามารถมองเห็นดาวเหนือได้
การหาตำแหน่งดาวด้วยมือ
เมื่อเราทราบทิศรอบตัวเรา ทราบมุมทิศและมุมเงยของดาวที่เราต้องการดู เราสามารถใช้มือของเราวัดมุมหาตำแหน่งดวงดาวนั้น ๆ ได้เลย วิธีการวัดระยะเชิงมุมด้วยมือ เป็นไปตามภาพด้านล่าง
ยืดแขนตรงไปทางด้านที่ต้องการวัดระยะเชิงมุม ให้แขนตึง |
การคำนวณตำแหน่งดาว ด้วยสูตร 15°
เพราะโลกเราหมุน ดังนั้นใน 1 ชม.ดาวจะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก 15° ด้วยหลักการนี้เราสามารถคำนวณตำแหน่งของดาวอย่างง่าย ด้วยการวัดด้วยมือของเรานี่เอง ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้ *********************************
โดย
พลตรี ดร.สุชาต จันทรวงศ์
ชมรมดาราศาสตร์และมวลเมฆ จ.ราชบุรี
7 ธ.ค.2566
ที่มาข้อมูล
- นิพนธ์ ทรายเพชร. (2564). ทิศ. [Online]. Available : https://www.scimath.org/article-stem/item/12172-copy-2. [2566 ธันวาคม 7].
- myhora. (2566). วิธีการวัดมุมดาวด้วยมือ. [Online]. Available : https://www.myhora.com/astronomy/planetary-positions.aspx. [2566 ธันวาคม 7].
- Trevor. (2566). The 20 Best Astronomy Apps for Stargazing. [Online]. Available : https://astrobackyard.com/astronomy-apps-for-stargazing/. [2566 ธันวาคม 7].
- Christopher Witt . (2562). Introduction to Stargazing. [Online]. Available : https://www.bhphotovideo.com/explora/outdoors/buying-guide/introduction-to-stargazing. [2566 ธันวาคม 7].
- LESA. (2553). การคำนวณตำแหน่งดาวอย่างง่าย, ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์. [Online]. Available : https://www.pw.ac.th/emedia/media/science/lesa/1/celestial_sphere/sky_math/sky_math.html. [2566 ธันวาคม 7].
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น