Translate

บันทึกไว้ในปูม "มหกรรมท่องเที่ยวดูดาวครั้งแรกไทยของประเทศไทย"

เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2566 มีการจัด "Dark Sky Star Party" มหกรรมท่องเที่ยวดูดาวครั้งแรกของประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี นับเป็นก้าวสำคัญของวงการดาราศาสตร์ไทยที่น่าชื่นชมยินดียิ่งนัก และอยู่ในสมัยเรา ถึงแม้ผมจะไม่ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมวาระแห่งประวัติศาสตร์นี้ ก็ขอแอบเก็บข้อมูลบันทึกไว้ในปูม เผื่อจะได้มีโอกาสนำรูปแบบมาจัดสเกลเล็ก ๆ  ที่ จ.ราชบุรีบ้านของผมบ้าง


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัด มหกรรมท่องเที่ยวดูดาว ครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย “Dark Sky Star Party” ประเดิมครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ณ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม (อุทยานท้องฟ้ามืดในประเทศไทย)  จ.อุบลราชธานี  เป็นโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสความมหัศจรรย์ของท้องฟ้ายามค่ำคืน ในเขตอุทยานท้องฟ้ามืดที่มีทัศนวิสัยท้องฟ้าดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย โดยจัดในค่ำคืนวันเสาร์ที่ 18 มี.ค.2566 เวลา 17:00-23:00 น.


เนื้อหา
  • ผังการจัดงาน
  • มีกิจกรรมอะไรบ้าง
  • Glow in the dark wisdom forest 
  • คาราวานกล้องโทรทรรศน์
  • การสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องสองตา
  • ถ่ายภาพกับกลุ่มดาวและวาดภาพด้วยแสง
  • Night Nature Walk
  • กิจกรรมพิเศษ
  • กิจกรรมประกอบอื่น ๆ 
  • สรุปท้ายเรื่อง
ผังการจัดงาน
ภาพรวมการจัดงาน ก็จะประกอบไปด้วยลานกางเต็นท์ จำนวน 3 แห่ง ที่จอดรถ จุดที่เป็น Landmark ได้แก่ เสาเฉลียง ผาหมอน และผาแต้ม  ลานจัดกิจกรรมหลักอยู่บริเวณผาแต้ม


มีกิจกรรมอะไรบ้าง
ในงานมหกรรมท่องเที่ยวดูดาวในครั้งนี้ จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
  • Zone 1 : Glow in the dark wisdom forest 
  • Zone 2 : คาราวานกล้องโทรทรรศน์
  • Zone 3 : การสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องสองตา
  • Zone 4 : ถ่ายภาพกับกลุ่มดาวและวาดภาพด้วยแสง
  • Zone 5 : Night Nature Walk
  • กิจกรรมพิเศษ 
    • เทคนิคการดูดาวด้วยตาเปล่า
    • Workshop เทคนิคการถ่ายภาพดาราศาสตร์เบื้องต้น

Glow in the dark wisdom forest 
เป็นกิจกรรมเรียนรู้เรื่องราวป่าไม้อันเป็นพื้นฐานของชีวิตและภูมิปัญญา ชมนิทรรศการภูมิปัญญาจากผืนป่าในบรรยากาศป่าเรืองแสง เข้าร่วมพิธีชงชา (Herbal tea ceremony) เพื่อเชื่อมต่อพลังธรรมชาติ และภูมิปัญาบรรพบุรุษเข้าสู่ตัวคุณ







คาราวานกล้องโทรทรรศน์
สัมผัสประสบการณ์ดูดาวผ่านกล้องโทรทรรศน์นานาชนิด จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โรงเรียนเครือข่าย และนักดาราศาสตร์สมัครเล่น


กล้องโทรทรรศน์กว่า 30 ตัวกำลังชี้ไปที่ดาวศุกร์






การสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องสองตา
สนุกกับการดูดาวและวัตถุท้องฟ้านานาขนิดด้วยตัวเอง ผ่านแอพพลิเคชั่นดูดาว และอุปกรณ์พื้นฐานทางดาราศาสตร์ 





ถ่ายภาพกับกลุ่มดาวและวาดภาพด้วยแสง
สรรค์สร้างภาพเขียนแสงไฟยามค่ำคืน พร้อมดาวน์โหลดภาพกลับบ้านได้เลย



Night Nature Walk
สำรวจภาพเขียนสีและความงามของธรรมชาติยามค่ำคืน โดยแบ่งเป็น 2 รอบ คือ 19:00 น. และ 21:00 น.



กิจกรรมพิเศษ
เทคนิคการดูดาวด้วยตาเปล่า และ  Workshop เทคนิคการถ่ายภาพดาราศาสตร์เบื้องต้น





กิจกรรมประกอบอื่น ๆ 
  • บรรยากาศ red market ในงาน : ตลาด food truck วินเทจ สุดแสนอบอุ่น ภายใต้เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ทุกร้านพร้อมใจกันตกแต่งด้วยหลอดไฟสีแดง ซึ่งเป็นสีที่รบกวนสายตา และระบบนิเวศน้อยที่สุด เป็นตลาดที่ชิค ชิล และอาหารอร่อยมาก



สรุปท้ายเรื่อง
การจัดมหกรรมท่องเที่ยวดูดาวครั้งยิ่งใหญ่  “Dark Sky Star Party” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย จากการแสดงความคิดเห็นในโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ล้วนชื่นชมว่า จัดได้ดีมาก ทำให้เรื่องดาราศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าสนใจ  หลายท่านก็โพสต์เสียดายว่าไม่ได้ไปร่วมเพราะอยู่ไกล อยากให้มีจัดกิจกรรมอย่างนี้ ในภาคอื่น ๆ บ้าง 

สำหรับเรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก็คือ พื้นที่กางเต็นท์ มีห้องอาบน้ำและห้องสุขา ให้บริการน้อยไปหน่อย ไม่เพียงพอที่จะรับนักท่องเที่ยวสายแคมป์คราวเดียวกันจำนวนมากได้ 


งานนี้ ถือว่าเป็นความสำเร็จของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) ที่สามารถผลักดันให้คนไทยหันมาสนใจดาราศาสตร์และทำให้ผู้คนได้รู้จักและรับรู้ ความสำคัญของเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ที่จะช่วยลดมลพิษทางแสง ได้สำเร็จ และเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นความสำเร็จของหน่วยงานสนับสนุนสำคัญด้วย ก็คือ อุทยานแห่งชาติผาแต้ม และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 

นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของวงการดาราศาสตร์ของประเทศไทยสืบต่อไป

********************
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ชมรมดาราศาสตร์และมวลเมฆ จ.ราชบุรี
20 มี.ค.2566

ที่มาข้อมูล
  • อุทยานแห่งชาติผาแต้ม Phataem National Park. (19 มี.ค.2566). เฟสบุ๊คบุคคลสาธารณะ. [Online]. Available : https://www.facebook.com/pt074. [2566 มีนาคม 20].
  • Wirati Keeratikanchai. (19 มี.ค.2566). เฟสบุ๊คส่วนตัว. [Online]. Available : https://www.facebook.com/wirati. [2566 มีนาคม 20].
  • NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ. (19 มี.ค.2566). เพจเฟสบุ๊ค. [Online]. Available : https://www.facebook.com/NARITpage. [2566 มีนาคม 20].
  • NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ. (24 ก.พ.2566). เพจเฟสบุ๊ค. [Online]. Available : https://www.facebook.com/NARITpage. [2566 มีนาคม 20].

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ21 มีนาคม 2566 เวลา 16:48

    จะมีจัดอีกหรือเปล่าครับและถ้ามีครั้งต่อไปที่ไหนครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดในบล็อก