สถานที่ใน จ.ราชบุรี ที่เหมาะสมในการตามล่าช้าง และตารางเวลาในการล่าปี '65
"วิญญาณฉันรอที่ทางช้างเผือก" เนื้อเพลงประกอบจากภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม เพลงนี้คงพอจำกันได้นะครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจะชวนกันไปตามหาวิญญาณของ "โกโบริ" ว่ายังรอ "อังศุมาลิน" อยู่จริงหรือปล่าว
เจ้าของภาพ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ที่มาของภาพ (สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). 2565) |
ทางช้างเผือกคืออะไร
ทางช้างเผือก เป็นวัตถุท้องฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อมองจากโลก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นแถบสว่างพาดเป็นแนวยาวกลางท้องฟ้ายามค่ำคืน ตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกคือ "ใจกลางทางช้างเผือก" (Galactic Center) ประกอบด้วยวัตถุท้องฟ้ามากมาย อาทิ ดาวฤกษ์ กระจุกดาว เนบิวลา และหลุมดำ
ท่านใดที่ต้องการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับทางช้างเผือก เพิ่มเติม สามารถอ่านต่อได้ในบทความเรื่อง WHERE ARE YOU? YOU ARE HERE นะครับ (อ่านรายละเอียด)
ฤดูล่าทางช้างเผือก
ฤดูล่าทางช้างเผือก หมายถึง ห้วงเวลาที่คนไทยจะได้เห็นแขนของดาราจักรทางช้างเผือกที่เป็นลักษณะกังหัน ปรากฏเป็นแถบสว่างอยู่บนท้องฟ้ายามค่ำคืน และบางคืนก็ยังสามารถมองเห็นใจกลางของทางช้างเผือก (Galactic Center) ซึ่งเป็นส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกได้อีกด้วย
ช่วงเวลาที่สังเกตทางช้างเผือกได้ดีที่สุด คือ ปลายเดือนเมษายน-ต้นเดือนตุลาคม จะสังเกตเห็นใจกลางทางช้างเผือกอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องและกลุ่มดาวคนยิงธนู ทางช้างเผือกบริเวณนี้จะสว่างและสวยงามกว่าบริเวณอื่น ๆ และอยู่ในตำแหน่งกลางท้องฟ้าเกือบตลอดทั้งคืน หากแต่หากเป็นช่วงฤดูฝน อาจจะมีอุปสรรคเรื่องเมฆและฝนตกอยู่บ้าง
ใจกลางทางช้างเผือกจะอยู่บริเวณกลุ่มดาวแมงป่องและคนยิงธนู ที่มาของภาพ (สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). 2565) |
หลังจากนั้นในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน จะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว อุปสรรคเรื่องเมฆฝนจะเริ่มน้อยลง จะสังเกตเห็นทางช้างเผือกได้ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
กลุ่มคนที่ชื่นชอบดาราศาสตร์ และรักการถ่ายภาพ จึงเรียกช่วงนี้ว่า "ฤดูล่าทางช้างเผือก" เรียกสั้น ๆ ว่า ฤดูล่าช้าง ซึ่งก็มักจะเที่ยวตระเวนไปถ่ายภาพทางช้างเผือกสวย ๆ ในสถานที่ต่าง ๆ มาแบ่งปันให้พวกเราดู ซึ่งใครอยากดูภาพเหล่านั้นสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ใน Facebook สาธารณะได้ อย่างเช่น ทีมล่าทางช้างเผือก , Star Hunters Club : ชมรมพรานดารา , Thai Astronomy , คนดูดาว กล้องดูดาว (แบ่งปัน) , Starry Night Lover Club : ชมรมคนรักในดวงดาว , The Thai Astronomical Society (TAS-สมาคมดาราศาสตร์ไทย), รวมข้อมูลการถ่ายภาพทางช้างเผือก เป็นต้น
ตารางเวลาในการล่าช้าง
ตารางเวลาที่กำหนดไว้ในการดูทางช้างเผือก มีข้อมูลให้สืบค้นมากมาย ใครที่ชอบนอนดึก ตื่นสาย ใครที่ชอบนอนหัวค่ำ แล้วตื่นเช้ามืด หรือใครที่ไม่ชอบนอนและอยู่ได้ทั้งคืน ก็ลองวางแผนกันเอาเองนะครับ
ตารางการล่าช้างของคุณ bwisanu (สามารถติดตามเพจของเขาได้ที่ https://www.facebook.com/pixelmateth) ที่ได้โพสต์ไว้ใน Pantip กระทู้ "แจกตารางเวลาสำหรับถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกปี พ.ศ.2565" ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤศจิกายน พ.ศ.2565 มีรายละเอียดดีมากครับ จึงขออนุญาตนำมาแชร์ไว้ในบล็อกนี้ เผื่อไว้ให้ "นักล่าช้าง" ทั้งหลายใช้เป็นข้อมูลวางแผนต่อไป มีรายละเอียดดังนี้
คำชี้แจง วิธีการดูตารางเวลาสำหรับถ่ายภาพทางช้างเผือกของคุณ bwisanu
- ตัวอย่างวันที่ : หากเขียนไว้ว่า วันที่ 1-2 หมายถึง ช่วงค่ำของวันที่ 1 ต่อไปจนถึงช่วงเช้ามืดของวันที่ 2
- ทิศ SE หมายถึง ทิศตะวันออกเฉียงใต้
- ทิศ S หมายถึง ทิศใต้
- ทิศ SW หมายถึง ทิศตะวันตกเฉียงใต้
- เวลาที่เป็นสีเขียว หมายถึง คืนนั้นสามารถมองเห็นใจกลางทางช้างเผือก (Galactic Center) ได้หลายชั่วโมง (ประมาณมากกว่า 3 ชั่วโมง)
- เวลาที่เป็นสีเหลือง จะมีเวลาถ่ายภาพได้ประมาณ 2 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า
- เวลาที่เป็นสีแดง จะมีเวลาถ่ายภาพได้น้อยมากอาจน้อยกว่า 1.5 ชั่วโมง
สถานที่ถ่ายภาพทางช้างเผือกใน จ.ราชบุรี ที่เหมาะสม
พื้นที่ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพทางช้างเผือกในราชบุรี จากการวิเคราะห์พื้นที่แล้วจะอยู่ที่ อ.บ้านคา และ อ.สวนผึ้ง ซึ่งมีมลภาวะทางแสงน้อย ท้องฟ้ายังมืดอยู่มาก รายละเอียดการวิเคราะห์พื้นที่ สามารถอ่านได้ ในบทความด้านล่างนี้นะครับ
พื้นที่ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพทางช้างเผือกในราชบุรี จากการวิเคราะห์พื้นที่แล้วจะอยู่ที่ อ.บ้านคา และ อ.สวนผึ้ง ซึ่งมีมลภาวะทางแสงน้อย ท้องฟ้ายังมืดอยู่มาก รายละเอียดการวิเคราะห์พื้นที่ สามารถอ่านได้ ในบทความด้านล่างนี้นะครับ
- (ค้นหา) สถานที่ดูดาวในราชบุรี ตอนที่ 1
- (ค้นหา) สถานที่ดูดาวในราชบุรี ตอนที่ 2 "เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด"
ฝากคน อ.สวนผึ้ง และ อ.บ้านคา สายลุยที่ชื่นชอบการผจญภัยและการถ่ายภาพ ช่วยตามล่าช้างให้หน่อยนะครับ เพราะเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่และมีเวลาเลือกสถานที่ได้มากกว่าคนอื่น ๆ ลองดูนะครับ หา "โกโบริ" ให้เจอ
*******************************
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ชมรมดาราศาสตร์ราชบุรี
14 มี.ค.2565
ที่มาข้อมูลและภาพ
- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). ต้นกุมภา ถึงเวลาเปิดฤดูกาลล่า “ทางช้างเผือก” ยามเช้า. [Online]. Available : https://theconversation.com/explainer-a-beginners-guide-to-the-galaxy-49. [2565 มีนาคม 14].
- bwisanu. (2564). แจกตารางเวลาสำหรับถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกปี พ.ศ. 2565. [Online]. Available : https://pantip.com/topic/41169231. [2565 มีนาคม 14].
- สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2565). เริ่มแล้วฤดูกาลล่า “ทางช้างเผือก” ยามเช้า. [Online]. Available : https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG220301202022353. [2565 มีนาคม 14].
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น